วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิจารณ์วรรณกรรม ความสุขของกะทิ

บทวิจารณ์วรรณกรรมเรื่อง ความสุขของกะทิ
โดย นาวสาวเกศดา เพ็งวิชัย


                    นวนิยายเรื่อง ความสุขของกะทิ เจ้าของงานเขียนคือ งามพรรณ เวชชาชีวะ  เป็นวรรณกรรมเรื่องสั้นที่ได้รับการการันตีว่าเป็นวรรณกรรมที่สร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน(ซีไรต์) จากคำประกาศของคณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เนื้อเรื่องเป็นการเล่าเรื่องราวของเด็กหญิงวัย ๙ ขวบ คนหนึ่ง ชื่อ กะทิ ที่ต้องผ่านประสบการณ์ในชีวิตที่ต้องพบเจอกับการสูญเสียครั้งสำคัญ นั่นคือการจากไปของคุณแม่ เธอได้ผ่านเรื่องราว ขั้นตอนทั้งสุขและทุกข์ ความผูกพันและการพลัดพราก ความสมหวังและความสูญเสียถึงกระนั้นเธอก็ได้เรียนรู้ว่าความทุกข์จาการสูญเสียไม่อาจพรากความสุขจากความรักและความของแม่กับเธอได้ เด็กน้อยเติบโตขึ้นจากประสบการณ์นี้ด้วยความที่เชื่อมั่นและกำลังใจในการดำรงชีวิตต่อไปจากบุคคลใกล้ชิด ผู้ที่เธอรักและรักเธอ
                   นอกจากกะทิกับคุณตาแล้ว ตัวละครที่นับว่ามีความสำคัญอีกหนึ่งคนก็คือ “พี่ทอง” เด็กวัดเพื่อนของกะทินั่นเอง ที่ผู้เขียนใช้ตัวละครที่เป็นพี่ทองมาช่วยดำเนินเรื่องคู่กับตัวละครที่เป็นกะทิโดยเฉพาะในช่วงท้ายๆ ที่เริ่มมีเหตุการณ์มากมายผ่านเข้ามา ตัวละครที่เป็นพี่ทองก็แสดงให้เห็นถึงการกล่าวถึงตัวละครอีกตัวอย่างเป็นนัยๆให้ผู้อ่านอยากรู้เนื้อเรื่องเข้าไปเรื่อยๆ  เสน่ห์ของนวนิยายเรื่องนี้จึงอยู่ที่กลวิธีการเล่าเรื่องที่ค่อยๆเผยปมปัญหาทีละน้อยๆ ผ่านมุมมองของตัวละคร ด้วยภาษาที่รื่นรมย์ แฝงอารมณ์ขัน และสอดแทรกความเข้าใจชีวิตที่ตัวละครได้เรียนรู้ตามประสบการณ์
                       ผู้เขียนใช้วิธีการเล่าเรื่องโดยสร้างให้ตัวละครที่ชื่อทอง เป็นเด็กวัดนิสัยดีชอบช่วยเหลือ ยิ้มเก่งเป็นเอกลักษณ์ และว่ายน้ำเก่ง โดยให้ทองเข้ามามีบทบาทหลายฉากในเรื่อง เข้ามาช่วยยายของกะทิทำงานบ้านบ้างตามโอกาส เพื่อต้องการให้เนื้อเรื่องดำเนินไปอย่างเรียบง่ายแต่แอบแฝงความหมายเอาไหว้เมื่ออ่านไปถ้าผู้อ่านไม่ทันได้วิเคราะห์ตัวละครก็จะยังไม่รู้สาเหตุการเล่าเรื่องทำให้ต้องติดตามอ่านต่อจนจบ
                      ความสุขของกะทิเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวจากแนวคิดของผู้เขียนโดยผ่านการสื่อสารด้วยภาษาที่เรียบง่าย เข้าใจง่ายและแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตการเรียนรู้ที่จะต่อสู้กับเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต แสดงถึงความรักความผูกพันความเชื่องโยงกันของตัวละคร

   อัตลักษณ์และวิถีชีวิตของชาวบ้านใน “ บ้านริมคลอง”
                     ในตอนนี้ผู้เขียนแยกให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่พักอาศัยอยู่แถวริมคลองสะท้อนให้เห็นถึงความเรียบง่ายอยู่อย่างพอเพียง เห็นได้จากการเดินทางก็ใช้เรือช่วยในการเดินทางไปไหนมาไหน วิธีการทำกับข้าวที่ใช้กระต่ายช่วยในการขูดมะพร้าวที่ให้ความสดกว่าการซื้อน้ำกะทิ การใช้อ่างและโอ่งมารองรับน้ำฝนไว้ใช้แทนการใช้น้ำประปาและการใช้ปิ่นโตในการห่อข้าวแทนการใช้ถุงพลาสติกช่วยลดพลังงานด้วย ดังตัวอย่าง
                                 คำบรรยายถึงสภาพธรรมชาติรอบตัวเมื่อนั่งอยู่ในเรือกลางคลอง    “...เรือพ้นจากคลอง                          ร่มครึ้มสู่ทุ่งกว้างสุดตา น้ำ        ปริ่มต้องลมอ่อนเป็นริ้วระลอกน้อยๆ ทุ่งนาสีเขียวสดเห็นอยู่ไกลๆตาลอยเรือกลางทุ่ง แล้วลงมือถอนสายบัว ต้องดูดีว่าเป็นบัวผันไม่ใช่บัวเผื่อนที่รสเฝื่อนขม บัวผันใบกลมไม่มีแฉก ดอกสีเหลืองจัด สายบัวกรอบสดจิ้มน้ำพริกที่ยายห่อใบบัวมาพร้อมข้าวใหม่ จะเป็นอาหารกลางวันมื้ออร่อยทีเดียวกะทิยังนึกสนุกหักสายบัวเป็นข้อๆห้อยคอต่างสายสร้อยด้วย...”  และตอนที่เตรียมโอ่งเพื่อใช้งานว่า  “เมื่อหมดหน้าฝนก็จะต้องล้างโอ่งใส่น้ำเป็นการใหญ่เพื่อปิดรอไว้รับน้ำฝนปีถัดไป...” ( งามพรรณ เวชชาชีวะ,2556:31)
                จากบทความข้างต้นนี้สะท้อนให้เห็นว่า อัตลักษณ์ของชาวบ้านริมคลองนั้นถูกสร้างให้มีความเรียบง่ายอยู่กับธรรมชาติมากกว่าการที่ต้องใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย มีความพอเพียงสามารถช่วยเหลือตนเองได้รู้จักการใช้ชีวิตสามารถเอาตัวรอดและปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้เป็นอย่างดีในขณะที่คนชาวเมืองกลับมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างออกไป คือ ยึดติดกับวัตถุ สิ่งของเงินทองมากกว่า ให้เห็นว่าผู้เขียนแยกสิ่งที่อยู่ต่างกันออกจากกันอย่างเห็นได้ชัดและถ่ายทอดออกมาให้ผู้อ่านรับสื่อที่ถูกต้อง ผู้อ่านจะสามารถวิเคราะห์สิ่งที่ผู้เขียนบทความนี้และวิเคราะห์ได้ว่าอะไรมีอัตลักษณ์เป็นอย่างไรสามารถรู้ได้ว่าผู้เขียนมุ่งสื่ออะไร

ความรักความผูกพัน และเสียสละเพื่อนคนที่รัก
              ในตอน “ บ้านชายทะเล ”   ได้กล่าวถึงแม่ของกะทิที่กำลังป่วยหนัก ผู้เขียนใช้วิธีการเล่าเรื่องโดยต้นเรื่องนั้นไม่ได้พูดถึงตัวละครตัวนี้เพราะมีความหมายอะไรบางอย่างที่ตัวละครที่เป็นแม่แอบแฝงไว้ แต่มากล่าวถึงในตอนนี้นี่เองในตอนนี้จะสะท้อนความรักของแม่ที่มีต่อลูก เสียสละเพื่อลูก เพื่อให้ลูกปลอดภัยทั้งที่ภายในใจอยากอยู่ใกล้ชิดดูแลลูก สร้างอารมณ์ความรู้สึกเศร้าที่ตัวละครถ่ายทอดออกมาดังตัวอย่าง
             “ น้ำตาไหลอาบแก้ม แม่สะอื้นจนตัวโยน กะทิจับมือของแม่มาจูบ มาแตะที่แก้มตัวเอง ยกแขนแม่ให้โอบรอบคอของกะทิไว้ กะทิกอดแม่ไว้แน่น แม่ซบหน้าลงกับแก้มของกะทิเนื้อตัวแม่เย็นซีด กะทิพร่ำกระซิบว่ากะทิอยู่ตรงนี้อยู่กับแม่แล้วสองคนจะไม่แยกจากกันอีก ดอกลั่นทมร่วงลงพื้นอยู่นอกหน้าต่าง เหมือนทนรับรู้ความทุกข์ระทมของดวงใจสองดวงนี้ไม่ไหว”         
                วรรณกรรมเรื่องความสุขของกะทิทำให้เห็นภาพลักษณ์ของผู้เป็นแม่ที่ถูกเสนอออกมาในแนวคิดของนักเขียนที่มีต่อตัวละครในเรื่องไม่ว่าจะเป็นแม่หรือตัวละครเอกอย่างกะทิเอง ตัวละครในเรื่องนี้ถูกสร้างให้มีบทบาท สถานภาพ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ต่างกันตามเนื้อเรื่อง ความท้าทายผู้อ่านของเรื่องคือผู้เขียนสร้างตัวละครให้เล่าเรื่องย้อนหลัง โดยให้ผูกเรื่องจากอดีตกับปัจจุบันเข้าหากันเหมือนมีกุญแจนำทางที่คอยแก้ปมปัญหาไปทีละน้อยๆ และใช้ความเกี่ยวเนื่องของตัวละครมาโยงผูกกันทำให้เนื้อเรื่องยิ่งดูน่าอ่านน่าติดตาม ดังตัวอย่าง
                 ตอนที่บรรยายถึงทองที่มาช่วยกะทิ “สรุปว่าพระเอกที่ขี่ม้าขาวมาช่วยกะทิกับแม่ไม่ใช่ใครที่ไหน พี่ทองยิ้มสว่างของเรานั่นเอง แม่บอกว่าพี่ทองตื่นเต้นกับ สาวชาวกรุง วัยสี่ขวบมาก ชอบพายเรือมาชมโฉมสาวบ่อยๆวันนั้นพี่ทองคงมาอย่างเคย แล้วพายเรือตามมา ตั้งใจจะมาเล่นด้วย เรือของพี่ทองปรากฏให้เห็นแทบในทันทีที่สิ้นเสียงฝ้าผ่า พี่ทองว่ายน้ำแข็งแบบเด็กริมคลองของแท้จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะประคองเรื่อที่กะทินั่งอยู่ให้เข้ามาเทียบท่าอย่างปลอดภัย อีกทั้งอุ้มกะทิมาส่งให้ถึงมือแม่ เหมือนแมวคาบหนู แม่เล่าทั้งน้ำตา พี่ทองตัวเล็กกว่าอายุ แถมกะทิก็อ้วนกลมแบบเด็กอยู่ดีกินดี แม่กอดกะทิกอดพี่ทองไว้ด้วยกัน ร้องไห้ปนหัวเราะอยู่กลางสายฝน ก่อนจะขึ้นไปหาที่หลบฝนในศาลา”
                 จากเนื้อความนี้จะเห็นว่ามีความเชื่อโยงของเหตุการณ์ว่าทำไมผู้เขียนจึงสร้างตัวละครที่ชื่อทองให้ว่ายน้ำเป็น ทำไมทองจึงมีความผูกพันกับกะทิและคนในครอบครัวเป็นการนำเสนอภาพความผูกพันกันของตัวละครให้มีความเชื่อมโยงกัน

ความเรียบง่ายอยู่คู่กับธรรมชาติ
                  จากสภาพรอบตัวที่ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติที่สวยงาม มีทั้งดอกไม้ ต้นไม้พรั่งพร้อมไปด้วยทรัพยากรที่มั่งคั่งแล้วจนก่อให้เกิดการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายไม่ยุ่งยาก การดำเนินเรื่องที่ต้องการสื่อถึงธรรมชาติเป็นอีกแนวทางในการดำเนินให้เนื้อหาเป็นไปอย่างธรรมชาติมากขึ้นเพราะธรรมชาติสร้างฉากของเรื่องได้เป็นอย่างดี  ผู้อ่านสามารถจินตนาการภาพไปกับการอ่านมากขึ้นตัวอย่างเช่น
                   “ดอกสีแดงของต้นหางนกยูงสองข้างทางผ่านตาไปอย่างรวดเร็วรถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเหมือนลอยในอากาศ ในตัวของกะทิเบาโหวงเหมือนกล่องเปล่า ทั้งๆ ที่ตลอดสองวันที่ผ่านมา หัวใจเต้นถี่อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน”
                      ธรรมชาคติสามารถเป็นฉากได้ดี  ผู้เขียนใช้หลักการนี้ควบคู่กับการใช้ตัวตัวละครที่เป็นเด็กเมื่อเด็กอยู่ท่ามกลางธรรมชาติแล้วความกลมกลืนไร้เดียงสาก็จะเกิดขึ้นให้เห็นอย่างชัดเจน ความเป็นธรรมชาตินี้จะช่วยชูให้เนื้อเรื่องดูอ่านง่ายเข้าใจเข้าถึงเนื้อหาโดยที่ผู้เขียนไม่ต้องอธิบายเพียงต่เขียนเล่าในสิ่งที่ต้องการสื่อเท่านั้น      
          
ความเป็นเด็กน้อยของ “กะทิ”
                ในเรื่องนี้กะทิต้องผ่านประสบการณ์การสูญเสียคนสำคัญไป เป็นเหตุการณ์ที่ให้ความรู้สึกสลด เศร้าใจ สำหรับวัยเด็กที่ต้องเจอปัญหาและผ่านประสบการณ์ที่เลวร้ายมา ความรู้สึกหดหู่ใจย่อมเกิดขึ้นการทำใจให้ยอมรับคงเป็นลำบากอยู่ไม่น้อย เพราะสิ่งที่สูญเสียนั่นหมายถึงทั้งชีวิตที่ขาดมาโดตลอดแล้วมาวันหนึ่งกลับสูญเสียไปโดยไม่ทันได้เรียนรู้กันเลย ดังตัวอย่าง
                  “คืนนั้นกะทิตื่นมากลางดึก รู้สึกแปลกในใจชอบกลอาจเป็นเพราะคำพูดของแม่ตอนนั่งดูพระอาทิตย์ตกดินด้วยกันแม่พูดลอยๆว่า “ไม่อยากให้ฟ้ามืดเลย”  คงไม่ใช่กะทิคนเดียวที่นอนไม่หลับ  กะทิย่องลงบันไดมาถึงเรือนเล็ก และเห็นน้ากันต์นั่งอยู่เคียงข้างเตียงของแม่น้ากันต์เป็นคนเดียวที่กะทิไม่เคยเห็นแสดงอารมณ์หรือน้ำตาแต่ในแสงสลัวของห้องพักคนเจ็บ กะทิเห็นไหล่ทั้งคู่ของน้ากันต์สั่นสะท้าน สุดท้ายกะทิน้ากันต์ซบหน้าลงข้างตัวของแม่อยู่เนิ่นนาน”
                      ในเรื่องของความเป็นจริงการทำใจให้ยอมรับกับการสูญเสียคนที่รักไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลาอย่างมากในการสร้างความมั่นใจกลับคืนมา แม้จะเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตามแต่ในเรื่องนี้กะทิกลับสามารถเข้าใจและทำใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นได้นั่นเป็นเพราะแนวคิดของผู้เขียนที่ต้องการสร้างให้ตัวละครมีความอดทนต่อสิ่งเกิดขึ้น ต้องการให้ตัวละครเรียนรู้ชีวิตโดยผ่านประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต การเรียนรู้ชีวิตจากประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตจะช่วยให้เรามีความกล้าที่จะที่เผชิญกับโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น  ผู้เขียนต้องการให้เห็นภาพที่เด็กหญิงน้อยคนหนึ่งเมื่อผ่านเหตุการณ์ต่างๆแล้วจะดำเนินเรื่องต่อไปอย่างไร

สัญลักษณ์กับการเล่าเรื่อง
                จะเห็นได้ว่าผู้เขียนใช้กลวิธีการใช้สัญลักษณ์ในการกำหนดตอนต่างๆ ในการดำเนินเรื่อง โดยส่วนมากจะเป็น ธรรมชาติอย่างที่กล่าวมา เช่น ต้นไม้ ดอกไม้ และอาจจะมีสิ่งของเข้ามาปะปนบ้างเช่น กระจก ตู้จดหมาย กระถางธูป โอ่งและอ่าง เป็นต้น ซึ่งการใช้สัญลักษณ์เข้ามาช่วยในการเขียนนั้นเป็นหลักการทางวรรณกรรม คือเป็นการบอกความหมายโดยมีนัย สามารถบอกถึงสิ่งที่ต้องการจะสื่อออกมาแต่ไม่ต้องการสื่อโดยตรงหรืออาจจะต้องการให้มีอรรถรสในการอ่านมากขึ้น มีการเขียนที่ดูมีสำนวนโวหารมากขึ้น ดังตัวอย่าง
            ตอนที่๑ กระทะกับตะหลิว แสดงให้เห็นถึงความแย้งกันของตากับยาย
           ตอนที่๑๔ ลั่นทม แสดงถึงความสลดใจ โศกเศร้า เสียใจ
           ตอนที่๑๗ จักจั่น  แสดงให้เห็นว่ามีความหมายของความว่างเปล่า หว้าเหว่
          ตอนที่๑๙ พวกกุญแจ มีความหมายถึงการไขปัญหา ที่ยังไม่รู้คำตอบ
          ตอนที่ ๒๐ ลิ้นชัก มีความหมายถึงการเก็บงำความลับที่รอการเปิดเผย
         ตอนที่๒๑ กระเป๋าเดินทาง แสดงให้เห็นว่ามีความหมายถึงการเดินทาง
        ตอนที่๒๒ กระจก  มีความหมายถึงการย้อนมองตัวเอง
        ตอนที่๒๕ ตู้ไปรษณีย์ มีความหมายถึง การสื่อสาร-ตอบกลับ
จากตัวอย่างที่ให้ข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการใช้สัญลักษณ์ในการแปลงความหมายสื่อความหมายนั้นจะสามารถสื่อความหมายในด้านการรับรสจากวรรณกรรมได้เป็นอย่างดี หากเราใช้ภาษาที่เรียบง่ายเกินไปงานเขียนก็จะไร้อรรถรสดูไม่น่าติดตาม การใช้สัญลักษณ์เข้ามาช่วยจะช่วยให้เนื้อหาน่าอ่านเพราะถ้าใช้หัวเรื่องที่น่าสนใจผู้อ่านจะเกิดความสนใจและต้องการอ่านเนื้อหาข้างใน

ความขัดแย้งและสอดคล้องกันของตัวละคร
            ในเรื่อง ความสุขของกะทิ ตัวละครมีความลงตัวของตัว ตากับยายที่มักขัดแย้งกันนั่นเป็นเหตุให้กะทิได้ใกล้ชิดกับตาและล่วงลับความรู้บางอย่างตอนตาคุยโทรศัพท์  ยายชอบทำกับข้าวโดยมีพี่ทองมาช่วยขูดมะพร้าวทั้งที่พี่ทองไม่ใช่ญาติแต่ก็มีความสนิทสนมกับกะทิ   ลุงตองไม่ค่อยถูกกันกับยายเพราะต่างก็รักกะทิกันทั้งคู่  น้าฎากับน้ากันต์ พี่อ้อย ต่างก็ให้ความสำคัญกับแม่ทั้งที่ก็ไม่ใช่ญาติ  เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงทั้งความขัดแย้ง และสอดคล้องกันของแต่ละตัวละคร

จินตนาการ กับ๒๖ ตอนของ “ความสุขของกะทิ”
            ในแง่ของของการสร้างความหมายให้นุ่มลึกและหลายมิติ ผู้เขียนใช้ตัวโปรยซึ่งพิมพ์ตัวเอนใต้ชื่อบท ตัวอย่างเช่น             
               “แม่ไม่เคยสัญญาว่าจะกลับมา”
                “กะทิรอแม่ทุกวัน”
                 “ในบ้านไม่มีรูปถ่ายแม่เลย”
                 “ไม่เคยมีใครพูดถึงแม่”
                 “กะทิจำหน้าแม่ไม่ได้แล้ว”
                 “กะทิอยากให้แม่ไปรับที่โรงเรียนบ้าง”
                  “กะทิอยากเห็นแม่ตะกร้ากลับจากตลาด”
                  “อยากรู้ว่าแม่คิดถึงกะทิไหมนะ”
                  “เหลือเพียงเสียงของแม่ที่กะทิยังจำได้ดี”
          ตัวละครที่โลดแล่นอยู่ในบ้านริมคลองและเมืองอันเป็นที่ตั้งของบ้านริมคลอง ได้แก่ ตา ยาย กะทิ หลวงลุง และพี่ทอง ส่วนแม่ของกะทิไม่ปรากฏอยู่ในฐานะตัวละครใน ๙ บทแรกนี้ แต่แม่อยู่ในอักษรที่โปรยทั้ง ๙ บท อยู่ในความคิดของกะทิทั้งวันและทุกวัน ผู้อ่านก็ได้แต่สงสัยว่าแม่ของกะทิอยู่ไหน เหตุใดกะทิจึงต้องอยู่กับตากับยายทั้งๆที่แม่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้อ่านจินตนาการได้ว่าแม่กะทิจะมีความสุขได้รับความอบอุ่นและการดูแลเอาใจใส่จากตากับยาย แต่ตัวโปรยที่ใต้ชื่อของ ๙ บท นั้นบอกให้ทราบว่าเด็กน้อยคนนี้โหยหาแม่ของเธอมากเพียงใด  แม่ไม่ได้ปรากฏตัวในฐานะตัวละครที่มีบทบาทในที่นี้ก็จริงแต่แม่ปรากฏตัวในที่ที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือในหัวใจและความคิดของกะทิ ตัวละครแม่ไม่ปรากฏ ก็เหมือนปรากฏผ่านใน ๙ บทแรก นอกจากการครอบครองพื้นที่ในตัวอักษรข้างบนนั้นแล้วแม่ปรากฏในความคิดของกะทิในท้ายบทที่ ๓  ดังตัวอย่าง
                   “ ยามดึกเมื่อฟ้าร้องผ่า ยายเข้ามากอดกิไว้ เด็กน้อย ไม่อยากได้ยินเสียงฟ้า เสียงฝน เสียงคน เสียงผู้หญิงคนนั้น... ในยามใจน้อยที่แม่ไม่อยู่รับขวัญปลอบประโลม แม่จึงเป็นเพียง ผู้หญิงคนนั้น เมื่อฟ้าแลบกะทิปรือตาขึ้นมาเห็นน้ำตายาย ”
           นั่นหมายถึงขณะนั้นยายร้องไห้สงสารหลานและคิดถึงลูกสาวของตน แม่ปรากฏครั้งที่ ๒ ในคำพูดของตาท้ายบทที่ ๖ เมื่อตาพูดโทรศัพท์โดยไม่รู้ว่ากะทิลงไปนั่งเล่นในโอ่งละแอบได้ยินตนเองคุยโทรศัพท์ ดังตัวอย่าง
                    “ จะให้รอจนโรงเรียนปิดเทอมก่อนหรือ  เรามีเวลามากขนาดนั้นจริงหรือเปล่า ”
คำพูดของตาทำให้ผู้อ่านรู้สึกใจหายจินตนาการได้ว่าคงเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นแน่ คำว่า “เรามีเวลามากขนาดนั้นเชียวหรือ” หมายถึงอะไร จะเป็นผู้ที่กะทิรอคอย ซึ่งก็คือแม่ จะมีชีวิตอยู่จนถึงโรงเรียนกะทิปิดเทอมหรือความใจหายเกิดขึ้นกับกะทิด้วย ท้าย บทที่๗ แม่ปรากฏในคำพูดของตาละการรับรู้ของกะทิ  ดังตัวอย่าง
                    “ ตาพูดลอยๆ ว่า “ อยู่ที่ไหนก็ดูพระจันทร์ดวงเดียวกัน ” กะทิรู้ได้เองว่าตาหมายถึงใคร ตาหมายถึงใครคนหนึ่งที่กำลังมองดูดวงจันทร์บนฟ้าอยู่ตอนนี้เหมือนกัน ใครคนที่หัวใจของกะทิร่ำร้องรียกหาอยู่ทุกลมหายใจ”
                   ท้ายบทที่๘ แม่ก็ปรากฏในอากัปกิริยาของยายดังตัวอย่าง
          “ หมู่นี้ยายดูใจคอเลื่อนลอย เหมือนมีเรื่องหนักใจให้ต้องคิดมาก”
ผู้อ่านเริ่มสงสัยว่าลูกสาวยายหรือแม่ของกะทินั้นเป็นอะไรไปหรือเปล่า เริ่มมีจินตนาการเริ่มคิดตามไปต่างๆนานา ท้ายบทที่ ๙ แม่ก็ปรากฏในคำพูดของยาย เมื่อยายถามกะทิว่า
            “ กะทิ อยากไปหาแม่ไหมลูก ”
ใน ๙ บทแรก แม่ไม่ได้ปากฎตัวในฐานะตัวละคร แต่ก็เหมือนปรากฏ

บุคลิกษณะของตัวละคร
ในพื้นที่เล็กๆของแต่ละบทในช่วงเก้าบทแรก ผู้อ่านได้เข้าถึงบุคลิกลักษณะตัวละครของตา ยายผู้เลี้ยงดูกะทิจาการกระทำอันแสดงความรักความเอาใจใส่ จากคำพูดคำสอน ซึ่งหลานจดจำได้จากการสอนหลานให้เรียนรู้จากธรรมชาติ นอกจากนี้ผู้แต่งค่อยๆ เผยภูมิหลังของตาและยายซึ่งอธิบายความเป็นคนที่มีความคิดทันสมัย ทันโลก ทันชีวิตและมีคุณค่าต่อสังคมรอบตัวของทั้งสองคน ในบทที่ ๕ ผู้ใหญ่บุญกล่าวคำสรรเสริญตา ดังตัวอย่าง
            “ หมู่บ้านริมคลองโชคดีจริงๆ ที่ตาเกษียณจากงานในกรุงเทพฯ แล้วลือกกลับมาอยู่ที่บ้านหลังเดิมของทวดที่ปิดร้างมานาน ตาร่ำเรียนจากเมืองนอกเมืองนา เป็นนักกฎหมายมือหนึ่ง เป็นที่ยอมรับทั่วบ้านทั่วเมืองทำเงินเป็นถุงเป็นถัง ช่วยเหลือคนมามาก หากไม่ได้ตาชาวบ้านคงถูกเอาเปรียบ ที่ดินทำกินของบรรพบุรุษคง...” 
ในบทที่ ๘ ตากระเซ้ายายที่ไม่ยอมใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าว่า
             “ ยายตีบทหญิงชาวบ้านแตกในช่วงไม่กี่ปี ไม่เหลือร่องรอยเลขาฯ นายใหญ่โรงแรมห้าดาวเลยสิน่า ”
ผู้อ่านจะรับรู้ได้ว่ากะทิซึมซับความคิดการตัดสินใจ การกระทำของตาและยายอย่างไรได้รู้จักคิด รู้ทำ รู้จักตัดสินใจเป็นแค่ไหน เพราะผู้เขียนได้ปูทาวงการดำเนินไปของตัวละครตัวน้อยไว้แล้ว

         ความแตกต่างของเนื้อหาแต่บทของ “ความสุขของกะทิ”
                เป็นสิ่งที่หน้าสังเกตว่าในประโยคส่งเข้าสู่เนื้อเรื่องในช่วงที่สอง นั่นคือบทที่ ๑๐-๑๘ เป็นการเล่าเรื่องในส่วนของ “บ้านชายทะเล” ตัวอักษรที่โปรยอยู่ใต้บทแต่ละบทก็ยังกล่าวถึงแม่อยู่เหมือนในเก้าบทแรกตัวอย่างเช่น
              “นานหลายปีทีเดียวที่กะทิไม่ได้พบแม่”
              “ไม่มีใครรู้ว่าแม่เหลือเวลาอีกนานเท่าไหร่”
               “ทุกคนรู้แต่ว่าเวลานาทีของแม่เหลือน้อยลงทุกที”
               “การอยู่กับปัจจุบันนาทีไม่ใช่เรื่องง่ายเลย”
                “อดีตเหมือนเงา บางครั้งทอดนำทางอนาคต”หนทางในวันข้างหน้าดูเหมือนไม่มีจริง”
                “ไม่น่าเชื่อว่าพรุ่งนี้ดวงอาทิตย์จะยังขึ้นให้เห็นบนฟ้าเหมือนเดิม
                





               



2 ความคิดเห็น:

  1. ทำไมยาวจังเลยขี้เกียจเขียน

    ตอบลบ
  2. เขียนได้ดีมากค่ะ ขอนำบทความบางส่วนของเจ้าของกระทู้ไปอ้างอิงในการเขียน
    งานนะคะ

    ตอบลบ